เคล็ดลับการเลือกซื้อเพชร ด้วยหลัก 4 Cs

4C กฎหลักในการเลือกซื้อเพชร

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่ควรศึกษาก่อนซื้อเพชร คือ 4 คุณลักษณะที่ควรเลือกของเพชร (4 CS) คือ Carat(น้ำหนักกะรัต), Color(สี), Clarity(ความบริสุทธิ์), Cut (การเจียระไน) ซึ่ง 4 คุณลักษณะนี้ เป็นตัวกำหนดคุณค่าและราคาของเพชร  หากเรารู้และเข้าใจในคุณลักษณะที่ดีแล้วจะทำให้เลือกเพชรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

1.Carat Weight  (น้ำหนักกะรัต)  เป็นหน่วยวัดน้ำหนักของเพชร โดยเพชร 1 กะรัต มีน้ำหนักเท่ากับ 200 มิลลิกรัม หากเพชรที่มีขนาดต่ำกว่า 1 กะรัต จะใช้หน่วยเป็น สตางค์ (Point) ซึ่งเพชร 1 กะรัต จะแบ่งเป็น 100 สตางค์ ตามธรรมชาติเพชรยิ่งมีขนาดใหญ่ จะพบได้ยาก และมีราคาสูงมากกว่าเพชรที่มีคุณลักษณะเท่ากัน

 

 

2.Color (สี) เพชรตามธรรมชาติมีหลายเฉดสี แต่เพชรที่ได้รับความนิยมมากคือเพชรสีขาวใส ที่หลายคนอาจคิดว่าคุณภาพสีของเพชรต้องใสไม่มีสี แต่แท้ที่จริงแล้วหาได้ยากในธรรมชาติ สถาบัน GEMOLOGICAL INSTITUTE OF AMERICA  (GIA) สถาบันอัญมณีหลักของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสถาบันวิเคราะห์อัญมณีที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด  ได้จำแนกเฉดสีของเพชร โดยเรียงจาก D ไปจนถึง Z ซึ่งอักษร D จะหมายถึง มีความขาวใสมากที่สุด บางครั้งคนไทยจะเรียกว่า “น้ำ” เพชรน้ำยิ่งสูงก็จะยิ่งขาวและไม่มีสีเหลืองเจือปน เพชรระดับไร้สี (Colorless) ได้แก่ เพชรน้ำ 100, 99, 98 หรือ เพชรสี D, E, F จะหายากและมีราคาสูงสุด ส่วนเฉดสีอื่น ๆ จะไล่ไปเรื่อย ๆ

 

 

3. Clarity (ความบริสุทธ์)  มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ  โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษณะทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่น ๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพชรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนด มาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า

 

เนื่องจากลักษณะสำคัญของอัญมณีแท้ตามธรรมชาติ คือ ไม่มีอัญมณีใดที่เหมือนกันทุกประการและไม่มีอัญมณีใดที่มีความสมบูรณ์ 100% โดยปราศจากมลทินและตำหนิ clarity จึงใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจากความชัดเจน ความมากน้อยของตำหนิภายนอก เช่นรอยขีดข่วน (scratch) รอยบิ่น (nick) เป็นต้น หรือมลทินที่อยู่ในเพชร ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่าเป็นเกณฑ์ ดังนั้นหากเพชรที่มี clarity ในระดับที่มองเห็นได้ยากด้วยกล้องกำลังขยาย 10 เท่า ก็ถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม

 

4. Cut (การเจียระไน) สำหรับนักอัญมณี หมายถึง สัดส่วนของเพชร (proportions) นั่นก็คือ ความลึก (depth) ความกว้าง (width) รูปทรงของหน้าเจียระไน (facet) และความสมมาตร (symmetry) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่ง ผลต่อความงามของเพชรมากที่สุด การดูความถูกต้องของสัดส่วน (Proportion Grading) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน (Crown) และส่วนล่าง (Pavilion) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่เป็นมาตราฐาน การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชร ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยและรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะ ทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น การเจียระไนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เพชรมีประกายแวววาวเมื่อกระทบกับแสง โดยลักษณะของแสงที่ดีนั้น แสงทั้งหมดจะต้องถูกสะท้อนมายังผู้สวมใส่ ให้ความแวววาวสูงสุด

This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่ and tagged , , .